PM 2.5 ก่อให้เกิดมะเร็งปอดได้จริงหรือ??


PM 2.5 ก่อให้เกิดมะเร็งปอดได้จริงหรือ??

PM 2.5 (Particulate Matter) เป็นอนุภาคขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน เกิดจากการเผาไหม้เครื่องรถยนต์ การเผาในที่โล่ง และควันจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น โดยอนุภาคที่เล็กมากนี้สามารถเข้าสู่ปอด และเข้าสู่กระแสเลือดได้ ก่อให้เกิดผลต่อสุขภาพ ในระยะสั้น เช่น แสบตา แสบจมูก ระคายเคืองตา ทำให้ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ หอบหืด และถุงลมโป่งพองกำเริบได้ ถ้าได้รับ PM 2.5 ปริมาณมากและยาวนาน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหอบหืด ภูมิแพ้ ถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไต

 

นอกจากนี้ PM 2.5 ยังมีองค์ประกอบสารเคมีบางชนิด ที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้ เช่น โพลีไซคลิกอะโรมาติก ไฮโครคาร์บอน เกิดจาการเผาไหม้ของสารอินทรีย์ไม่สมบูรณ์

 

ทั้งนี้ได้มีการศึกษาพบว่า PM 2.5 ปริมาณ 22 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เทียบเท่าการสูบบุหรี่ 1 มวน แม้ความเสี่ยงของ PM 2.5 ต่อมะเร็งปอดจะไม่มากเท่าการสูบบุหรี่ แต่ถ้าต้องได้รับ PM 2.5 ในปริมาณมาก เป็นเวลานานก็เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งปอดได้

 

cr. รพ.นครธน

สาระสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

ปรึกษาผลิตภัณฑ์
เอ็กซ์แทร็คท์พลัส

กรุณากรอกแบบฟอร์ม เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง

Our Partners